งานแนะแนว สำนักสวัสดิการนักศึกษา
รู้จักตน รู้จักคน รู้จักงาน ปรับตัวได้ ชีวิตมีสุข
บริการแบบสำรวจทางจิตวิทยา
ชื่อเข้าใช้งานระบบ
:
รหัสนักศึกษา หรือ เลขบัตรประจำตัวประชนที่ลงทะเบียนไว้
รหัสผ่าน
:
ลงทะเบียนใหม่
/
ลืมรหัสผ่าน
แนะนำการใช้งาน
×
กรณียังไม่เคยเข้าใช้งาน
เลือก
ลงทะเบียนใหม่
กรอกรายละเอียดข้อมูลของท่าน
จากนั้นคลิก
ลงทะเบียน
หากลงทะเบียนใหม่เรียบร้อยแล้ว หรือ เป็นผู้ใช้เดิม
กรอกข้อมูลผู้ใช้งานของท่านตามที่เคยลงทะเบียนไว้ เพื่อเข้าสู่ระบบ
เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว เลือกทำแบบทดสอบตามที่ท่านต้องการ
ประวัติความเป็นมา
×
ประวัติการพัฒนาแบบทดสอบทางจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ได้นำแบบทดสอบทางจิตวิทยามาใช้ครั้งแรก โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนัส จินตนะดิลกกุล อาจารย์ประจำ คณะมนุษยศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2533 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาศึกษาพฤติกรรมของนักศึกษา และใช้ประโยชน์ในการดูแล ช่วยเหลือ ป้องกันปัญหาให้แก่นักศึกษา ในด้านการเรียน ด้านการปรับตัว และสุขภาพจิต ซึ่งในปีต่อๆ มาผู้ช่วยศาสตราจารย์มนัส จินตนะดิลกกุล ได้ติดต่อขอใช้แบบทดสอบอื่นๆ จากเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรง เช่น แบบสำรวจความสามารถทางอารมณ์ ติดต่อขอใช้จาก Reuven Bar-On นักจิตวิทยาคลินิค แบบสำรวจบุคลิกภาพทางอาชีพ SDS ติดต่อ รศ.ดร.นวลศิริ เปาโรหิตย์ เป็นต้น
ปี พ.ศ. 2534
ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนัส จินตนะดิลกกุล เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปวัดความเครียด ชุด “STRESS Version 1.0” ด้วยโปรแกรมภาษาเบสิค และได้นำแบบทดสอบอื่นๆ เข้ามาใช้เพิ่มขึ้น เช่น แบบสำรวจลักษณะนิสัยและทัศนคติในการเรียน (SSHA Version 1.0 พ.ศ. 2535) แบบสำรวจตนเองเกี่ยวกับอาชีพของนักเรียน (CAR Version 1.0 พ.ศ. 2536 ) เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2537
ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนัส จินตนะดิลกกุล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศ จึงเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชุด “ระบบสารสนเทศการสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537-2540 ด้วยโปรแกรมระบบฐานข้อมูล FoxBase+ (เป็นจุดเปลี่ยนจากการใช้โปรแกรมภาษาเบสิคซึ่งไม่เหมาะสมกับการเก็บสะสมข้อมูลไว้มากๆ เป็น FoxBase+ แทน ) ในปีนี้จึงเป็นปีแรกที่มีการเก็บข้อมูลนักศึกษาสมัครใหม่ โดยใช้แบบทดสอบ SOS แต่เมื่อใช้ในการแปลผลและศึกษาควบคู่กับแบบทดสอบอื่นๆ แล้วพบว่า แบบทดสอบ SCL สามารถอธิบายองค์ประกอบพฤติกรรมของนักศึกษาได้ละเอียดและครอบคลุมมากกว่า จึงเป็นที่มาของการใช้แบบทดสอบ SCL ในการสำรวจสุขภาวะจิตของนักศึกษาจนถึงปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2540
ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนัส จินตนะดิลกกุล ดำรงตำแหน่งรักษาการหัวหน้ากองบริการแนะแนว และจัดหางาน เสนอขอทุนวิจัยในการหาเกณฑ์ปกติมาตฐานของแบบทดสอบ (Norm) สำหรับนักเรียนของไทย ในปีนี้จึงเกิดโลโก้ “โครงการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยการแนะแนว” และมีโปรแกรม CAG สำหรับนักเรียนเกิดขึ้น
เนื่องจากนักเรียนและนักศึกษา เป็นผู้ที่ยังอยู่ในระบบการศึกษา และจำเป็นต้องมีครูแนะแนวหรือนักแนะแนวช่วยเหลือเอื้ออำนายให้เกิดการรู้จักตนเองและค้นหาตนเองในด้านต่างๆ ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนัส จินตนะดิลกกุล จึงพัฒนาโปรแกรมสำหรับนักศึกษาด้วย โดยเลือกแบบทดสอบที่เหมาะสมใช้กับนักศึกษา ปรับภาษาของแบบทดสอบ และหาเกณฑ์ปกติมาตฐานของแบบทดสอบ (Norm) จากนักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพิษณุโลกมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ จึงมีโปรแกรม CAGUTCC สำหรับนักศึกษาเกิดขึ้นและใช้ต่อเนื่องมาจนถึง พ.ศ. 2558
ในปี พ.ศ. 2548
ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนัส จินตนะดิลกกุล ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองบริการแนะแนวและจัดหางาน อีกครั้ง และเริ่มใช้โปรแกรม CAGPERS (แบบสำรวจความสามารถทางอารมณ์ EQI) ประกอบการสอบรับพนักงานของมหาวิทยาลัย แบบทดสอบหาเกณฑ์ปกติมาตฐานของแบบทดสอบ (Norm) จากข้าราชการที่สอบเลื่อนระดับจากระดับ 6 เป็น 7 และ 8
ความสำเร็จของ โปรแกรม CAGUTCC ซึ่งมีแบบทดสอบทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถทางสมอง 4 ชุด ด้านบุคลิกภาพ 7 ชุด ด้านสำรวจอาชีพ 2 ชุด และด้านสุขภาพจิต 6 ชุด รวมเป็น 19 ชุด ที่เกิดขึ้นนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนัส จินตนะดิลกกุล ได้เขียนกิตติกรรมประกาศไว้เพื่อบอกเล่าถึงความร่วมมือร่วมใจช่วยเหลือเกื้อกูลจากครูอาจารย์ ผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน นักเรียนนักศึกษาจากหลายสถาบัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ กิติกรรมประกาศ โปรแกรม CAGUTCC
ตามที่กองแนะแนวและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มีหน้าที่สำรวจสุขภาวะจิตของนักศึกษาใหม่ โดยใช้แบบทดสอบ SCL ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน ในปีการศึกษา 2557 ท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (รศ.ดร.เสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์) มีนโยบายให้กองแนะแนวและศิษย์เก่าสัมพันธ์พัฒนาวิธีการเก็บ การประมวลผล และการแปลผลแบบสำรวจดังกล่าว ให้เหมาะสมต่อการใช้รับสมัครนักศึกษาใหม่ โดย รศ.ดร.อุสา สุทธิสาคร หัวหน้ากองแนะแนวและศิษย์เก่าสัมพันธ์ เป็นผู้รับนโยบาย ประสานงานกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนัส จินตนะดิกกุล เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณในปีการศึกษา 2558 จึงเป็นที่มาของการพัฒนาบริการแบบสำรวจทางจิตวิทยา ของกองแนะแนวและศิษย์เก่าสัมพันธ์ จากระบบ DOS สู่ระบบ Windows เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน และความสอดคล้องเหมาะสมกับวัสดุครุภัณฑ์
ในปีการศึกษา 2558 จึงมีทีมงานพัฒนาระบบบริการแบบทดสอบทางจิตวิทยา ดังนี้
นางสาวขวัญเรือน อัศดรศักดิ์
รักษาการหัวหน้ากองแนะแนวและศิษย์เก่าสัมพันธ์ เป็นผู้ประสานงานโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนัส จินตนะดิกกุล
เป็นที่ปรึกษาโครงการ และเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การวิเคราะห์ การแปลผล
นางสาวมาเรียม โตลอย
หัวหน้าแผนกพัฒนาเว็ปไซต์ เป็น Project manager
นายนพวรรธ์ บุญปั้น
เจ้าหน้าที่แผนกบริการคอมพิวเตอร์ เป็น System Analyst
เขียนโปรแกรมโดยบริษัท ควอลิตี้พลัส ครีเอชั่น จำกัด โดยมีแบบสำรวจที่พัฒนาในครั้งนี้ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลิกภาพ 4 ชุด ด้านสำรวจอาชีพ 2 ชุด และด้านสุขภาพจิต 1 ชุด รวมเป็น 7 ชุด